เมนู

3. ข้อว่า ท่านได้บรรลุเมื่อไร ? คือ เป็นคำถามถึงกาล. มีคำ
อธิบายว่า ในบรรดากาลเช้าและเที่ยงเป็นต้น กาลใดกาลหนึ่ง ?.
4. ข้อว่า ท่านได้บรรลุที่ไหน ? คือ เป็นคำถามถึงโอกาส. มี
คำอธิบายว่า ในโอกาสไหน? คือในที่พักกลางคืน ในที่พักกลางวัน ที่โคน
ต้นไม้ ที่มณฑป หรือในวิหารหลังไหน ?
5. ข้อว่า ท่านละกิเลสเหล่าไหนได้ ? คือ เป็นคำถามถึงกิเลส
ที่ละได้แล้ว. มีคำอธิบายว่า กิเลสทั้งหลายที่มรรคจำพวกไหนฆ่าท่านละได้แล้ว.
6. ข้อว่า ท่านได้ธรรมเหล่าไหน ? คือ เป็นคำถามถึงธรรมที่
ได้แล้ว มีคำอธิบายว่า บรรดามรรคมีปฐมมรรคเป็นต้น ท่านได้ธรรมเหล่า
ไหน ?.

[อรรถาธิบายฐานะ 6 อย่าง]


เพราะฉะนั้น ในบัดนี้ ถ้าแม้ภิกษุรูปไรๆ พึงพยากรณ์การบรรลุ
อุตริมนุสธรรม, เธออันใคร ๆ ไม่ควรสักการะ ด้วยคำพยากรณ์มีประมาณ
เพียงเท่านี้ก่อน. แต่เธอควรถูกทักท้วง เพื่อสอบสวนให้ขาวสะอาด ในฐานะ
ทั้ง 6 เหล่านี้ว่า ท่านได้บรรลุอะไร ? คือ ว่าท่านได้บรรลุฌาน หรือได้บรรลุ
บรรดาวิโมกข์ เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งหรือ ? จริงอยู่ ธรรมที่บุคคลใด ได้
บรรลุแล้ว ย่อมเป็นของปรากฏแก่บุคคลนั้น. ถ้าเธอกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้
บรรลุธรรมชื่อนี้ ลำดับนั้น ควรสอบถามเธอว่า ท่านได้บรรลุด้วยวิธีไร ?. คือ
ควรซักถามว่า ท่านทำอะไร ในบรรดาไตรลักษณ์ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น
ให้เป็นธุระ หรือตั้งมั่นอยู่ด้วยหัวข้ออะไร ในบรรดาอารมณ์ 38 อย่าง หรือ
ในบรรดาธรรมอันต่างด้วยรูปธรรม อรูปธรรม กายเป็นภายใน และกายเป็น
ภายนอกเป็นต้น จึงได้บรรลุ ? แท้จริงความตั้งมั่นใดของบุคคลใดมี ความตั้ง

มั่นนั่นย่อมปรากฏก็บุคคลนั้น. ถ้าภิกษุกล่าวว่า ความตั้งมั่นชื่อนี้ของข้าพเจ้า
มีอยู่, ข้าพเจ้าได้บรรลุด้วยวิธีอย่างนี้ ดังนี้, ลำดับนั้น ควรสอบถามเธอดูว่า
ท่านได้บรรลุเมื่อไร ? คือ ควรซักถามเธอว่า ท่านได้บรรลุในเวลาเช้าหรือใน
บรรดาเวลาเที่ยงเป็นต้น เวลาใดเวลาหนึ่งหรือ ? ความจริง กาลที่ตนได้บรรลุ
ย่อมเป็นของปรากฏแก่ชนทุกจำพวก. ถ้าภิกษุกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้บรรลุในกาล
ชื่อโน้น, ลำดับนั้น ควรสอบถามเธอดูว่า ท่านได้บรรลุที่ไหน ? คือ ควร
ซักถามเธอว่า ท่านได้บรรลุในที่พักกลางวัน หรือในบรรดาที่พักกลางคืนเป็น
ต้น โอกาสใดโอกาสหนึ่งหรือ ? ความจริง โอกาสที่ตนได้บรรลุ ย่อมปรากฏ
แก่ชนทุกจำพวก. ถ้าภิกษุกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้บรรลุในโอกาสชื่อโน้น, ลำดับ
นั้น ควรสอบถามเธอดูว่า ท่านละกิเลสเหล่าไหนได้ คือควรซักถามเธอว่า
กิเลสทั้งหลาย ที่ปฐมมรรคพึงฆ่า หรือที่ทุติยมรรคเป็นต้นพึงฆ่า ท่านละได้
แล้ว ? ความจริง กิเลสอันมรรคที่ตนได้บรรลุละได้แล้ว ย่อมปรากฏแก่ชน
ทุกจำพวก. ถ้าภิกษุกล่าวว่า กิเลสชื่อเหล่านี้ ข้าพเจ้าละได้แล้ว, ลำดับนั้น
ควรสอบถามเธอดูว่า ท่านได้ธรรมเหล่าไหน ? คือ ควรซักถามเธอดูว่า ท่าน
ได้โสดาปัตติมรรค หรือได้บรรดามรรคมีสกทาคามิมรรคเป็นต้น อย่างใด
อย่างหนึ่งหรือ ? ความจริง ธรรมที่ตนได้บรรลุแล้ว ย่อมปรากฏแก่ชนทุกจำ
พวก. ถ้าภิกษุกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้ธรรมชื่อเหล่านี้, ไม่ควรเชื่อถือคำพูดของ
เธอ แม้ด้วยคำพยากรณ์ มีประมาณเพียงเท่านี้. จริงอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ผู้พหูสูต
เป็นผู้ฉลาดในการเรียนและการสอบถามย่อมสามารถสอบสวนฐานะทั้ง 6 เหล่า
นี้ ให้ขาวสะอาดได้.

[เรื่องสอบสวนดูปฏิปทาของภิกษุผู้อ้างตนว่าได้บรรลุธรรม]


ส่วนอาคมนปฏิปทา (ข้อปฏิบัติเป็นเหตุมาแห่งมรรค) ของภิกษุนี้
ควรสอบสวนให้ขาวสะอาด. ถ้าอาคมนปฏิปทา ไม่บริสุทธิ์ ภิกษุทั้งหลาย
ควรกล่าวว่า ขึ้นชื่อว่า โลกุตรธรรม ท่านจะไม่ได้ด้วยปฏิปทานี้ แล้วนำเธอ
ออกไปเสีย. แต่อาคมนปฏิปทาของภิกษุนั้นบริสุทธิ์ ถ้าภิกษุ* นั้นปรากฏใน
ปฏิปทานั้นว่า เป็นผู้ไม่ประมาทในไตรสิกขา ทั้งหมั่นประกอบธรรมเป็นเครื่อง
ตื่นอยู่ ตลอดราตรีนาน ไม่ข้องอยู่ในปัจจัยทั้ง 4 อยู่ ด้วยใจเสมอด้วยฝ่ายมือ
ในอากาศคำพยากรณ์ของภิกษุนั้น ย่อมเทียบเคียงกับข้อปฏิบัติได้ คือ เป็นเช่น
กับพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า น้ำแม่น้ำคงคากับน้ำแม่น้ำยมุนา เทียบเคียงกัน
ได้ เข้ากันได้ ชื่อแม้ฉันใด , ปฏิปทาที่ให้ถึงพระนิพพาน อันพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้านั้น ทรงบัญญัติดีแล้ว แก่สาวกทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน, ทั้งพระ-
นิพพานและปฏิปทาเทียบเคียงกันได้. อีกอย่างหนึ่งแล สักการะอันใคร ๆ ไม่
ควรทำ แม้ด้วยคำพยากรณ์มีประมาณเพียงเท่านี้. เพราะเหตุไร ? เพราะว่า
แม้ภิกษุผู้เป็นปุถุชนบางรูป ก็มีปฏิปทาเป็นเหมือนข้อปฏิบัติของพระขีณาสพ.
เพราะฉะนั้น ภิกษุรูปนั้น อันใครๆ พึงทำให้หวาดสะดุ้งได้ด้วยอุบายนั้น ๆ.
ธรรมดาพระขีณาสพ แม้เมื่ออสนีบาต ผ่าลงมาบนกระหม่อม ก็หามีความกลัว
ความหวาดสะดุ้ง หรือขนพองสยองเกล้าไม่. ถ้าความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้ง
ก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี เกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น, เธออันภิกษุทั้งหลาย พึงกล่าว
เตือนว่า ท่านไม่ใช่เป็นพระอรหันต์ แล้วพึงนำออกเสีย. แต่ถ้าภิกษุนั้น
เป็นผู้ไม่กลัว เป็นผู้ไม่หวาดเสียว เป็นผู้ไม่สะดุ้ง ย่อมนั่งนิ่ง เหมือนราชสีห์
ฉะนั้น, ภิกษุนี้ ชื่อว่าเป็นผู้มีการพยากรณ์อย่างสมบูรณ์ ย่อมควรรับสักการะ
ที่พระราชาและราชมหาอำมาตย์เป็นต้น ส่งไปถวายโดยรอบ ฉะนี้แล.
//* แปลตามสารัตถทีปนี 2/441.